วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์

    
การบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
 
การบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
           เพื่อให้สามารถใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้นานขึ้น จึงควรรู้จักวิธีการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์บ้าง โดยในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และปัญหาทั่วไปในการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมีรายละเอียดังต่อไปนี้
 สิ่งที่เป็นอันตรายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์
            สิ่งที่เป็นอันตรายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญก็คือลักษณะการใช้งานและสภาพแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ ความร้อน แสงแดด ฝุ่นละออง น้ำ กระแสไฟฟ้า หรือสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลายคนมองข้ามไปแต่ที่จริงแล้วสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดอันตรายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างมาก ดังนี้
 
     การเปิด – ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์บ่อย ๆ
  เมื่อมีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไปในตัวเครื่องทันที ทำให้เกิดการกระชากของกระแสไฟฟ้าขึ้น ซึ่งหากการกระชากไฟนี้เกินกว่าที่ชิ้นส่วนบนแผงวงจรจะรับได้ จะทำให้แผงวงจรนั้นไม่สามารถทำงานได้ ดังนั้นถ้าไม่สามารถเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ก็ควรเปิด-ปิดเครื่องให้น้อยที่สุด
 
     ความร้อน
  ความร้อน  ที่เกิดขึ้นภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดมาจากการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แต่ละชิ้น ซึ่งความร้อนนี้หากสูงเกินขอบเขตที่ฮาร์ดแวร์ทนได้ก็จะทำให้เกิดการเสื่อมของฮาร์ดแวร์ชิ้นนั้น ดังนั้นจึงต้องมีวิธีที่ใช้ในการระบาย
ความร้อนออกจากเครื่องคอมิวเตอร์ เช่นการระบายความร้อนด้วยการติดตั้งพัดลมที่มีขนาดใหญ่หรือการติดตั้งพัดลมเพิ่มเข้าไปการ
ใช้งานเครื่อง คอมพิวเตอร์ในช่วงเวลาที่มีอุณหภูมิเหมาะสม การใช้เคสที่มีระบบระบายความร้อนที่ดี ซึ่งเคสที่มีระบบระบายความร้อน
ที่ดีในปัจจุบันนี้ก็คือเคสแบบ ATX ซึ่งต้องทำงานร่วมกับเมนบอร์ดแบบ ATX ด้วย โดยที่เคสและเมนบอร์ดชนิดนี้จะได้รับการออก
แบบมาโดยคำนึงถึงหลักการระบายความร้อนที่ดี เป็นต้น การจัดวางเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถถ่ายเทอากาศได้อย่างสะดวกก็เป็น
อีกทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความร้อนได้ โดยในการจัดวางเครื่องคอมพิวเตอร์ควรจะจัดให้ตำแหน่งด้านหลังของเครื่องอยู่ห่างจาก
ผนังหรือกำแพงพอสมควรเพื่อให้สามารถถ่ายเทอาศได้อย่างสะดวกแสงแดด ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความร้อนขึ้นได้ ซึ่งโดยปกติแล้วอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้นไม่ควรถูกจัดวางให้สัมผัสกับแสงแดด เครื่องคอมพิวเตอร์ก็เช่นกันไม่ควรจัดวางให้สัมผัส
กับแสงแดดโดยตร
 
    ฝุ่นละออง
 ฝุ่นละออง เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ เสียหายได้เร็วขึ้น เนื่องจากฝุ่นละอองจะเข้าไปขัดขวางทางเดินของ
กระแสไฟฟ้าบนแผงวงจร ทำให้ฮาร์ดแวร์ชิ้นนั้นทำงานได้ไม่เต็มที่หรือทำงานติดขัด นอกจากนี้ ฝุ่นละอองยังเป็นตัวปิดกั้นไม่ให้ความ
ร้อนระบายออกไปได้ ฮาร์ดแวร์ชิ้นหนึ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงจากฝุ่นเป้นอย่างยิ่งก็คือ เครื่องพิมพ์ (Printer) เนื่องจากหากฝุ่นได้เข้าไปเกาะ
อยู่บนหัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์แล้ว จะเข้าไปขวางกั้นการทำงานของเครื่องพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ท จะทำให้
การพิมพ์ภาพหรือตัวอักษรบนกระดาษเลอะเลือนได้
 
    น้ำ
 น้ำหรือของเหลว เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้ฮาร์ดแวร์ชิ้นต่าง ๆ เสียหายได้ เนื่องจากฮาร์ดแวร์ทุกชิ้นต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงาน
และน้ำก็เป็นตัวการที่ทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร ดังนั้นจึงไม่ควรนำน้ำหรือของเหลวใด ๆ เข้าใกล้ฮาร์ดแวร์ทุกชิ้นแต่หากต้องใช้น้ำใน
การทำความสะอาดก็ควรถอดปลั๊กไฟออกก่อน และใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาด แล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดซ้ำ
    กระแสไฟฟ้า
  กระแสไฟฟ้า  ที่หล่อเลี้ยงให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ก็สามารถสร้างความเสียหายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยมีสาเหตุมาจากไฟตก ไฟเกิน ไฟดับ และไฟกระชาก ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ไฟดับหรือไฟกระชาก จะทำให้ฮาร์ดแวร์หยุดทำงานชั่วคราว
จนกว่าจะมีกระแสไฟฟ้ากลับมาหล่อเลี้ยงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในช่วงเวลาที่ฮาร์ดแวร์หยุดทำงานอย่างฉับพลันนี้อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ฮาร์ดแวร์เสียหายได้
    สนามแม่เหล็กไฟฟ้า
  สนามแม่เหล็กไฟฟ้า  ที่เกิดจากฮาร์ดแวร์ชิ้นหนึ่งอาจจะไปรบกวนการทำงานของฮาร์ดแวร์อีกชิ้นหนึ่ง จนทำให้ฮาร์ดแวร์ที่ถูกรบกวนเสียหายได้ เช่น ลำโพงจากชุดมัลติมีเดีย ที่ไม่มีการป้องกันสนามแม่เหล็กไม่ให้แผ่กระจายออกไป สามารถทำอันตราย จอภาพได้เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ออกมาจากลำโพง จะไปรบกวนการสัญญาณของหลอดภาพที่อยู่ภายในตัวจอภาพ ทำให้การแสดงภาพและสีผิดเพี้ยนไป และเมื่อใช้งานไปนานทำให้จอภาพที่ถูกรบกวนด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไม่สามารถแสดงผลได้ครบทุกสี หรือจอภาพอาจจะเสียไปก็ได้เป็นต้น
    การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และฮาร์ดแวร์ชิ้นอื่น ๆ
  ก่อนการซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้งต้องปิดสวิตซ์เครื่องและดึงปลั๊กไฟออกจากเต้าเสียบเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า และสิ่งต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อไม่ให้ เครื่องคอมพิวเตอร์และฮาร์ดแวร์ชิ้นต่าง ๆ เสียหาควรปิดเครื่องให้สนิท
อยู่เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้หนูหรือแมลงสาบเข้าไปทำความเสียหายภายในเครื่องในกรณีที่ดึง แผ่นเหล็กปิดสล็อตด้านหลังเครื่องออกเพื่อใส่การ์ดต่าง ๆ เข้าไปก็ควรเก็บแผ่นเหล็กนั้นเองด้วยเพื่อเวลาที่ไม่ได้ใช้การ์ดนั้นแล้วจะได้นำแผ่นเหล็กมาปิดกลับคืน
 - ด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนให่ญ่จะมีพัดลมระบายอากาศอยู่หนึ่งตัว ซึ่งจะหมุนตลอดเวลาที่เปิดเครื่องพัดลมตัวนี้จะทำหน้าที่ดูดอากาศออกจากตัวเครื่องเพื่อระบายความร้อนให้กับระบบจ่ายไฟ จึงควรตรวจบริเวณหลังเครื่องเป็นครั้งคราวเพื่อดูว่ามีลมเป่าออกมาหรือไม่หากไม่มีก็ควรรีบเปลี่ยนโดยด่วน มิฉะนั้นทำให้อุณหภูมิในเครื่องคอมพิวเตอต์สูงเกินไปและจำมีผลเสียต่อตัวเครื่อง
- ควรเปิดฝาครอบเครื่องออกมาเป่าฝุ่นที่เกาะอยู่ตามแผงขงจรสัก 2 เดือนครั้ง แต่หากเครื่อง คอมพิวเตอร์บริเวณที่มีฝุ่นมาก ๆ
อาจจะต้องเป่าเดือนละครั้ง ถ้าไม่มีเครื่องเป่าลมก็ให้ใช้แปรงทาสี ที่มีขนนุ่ม ๆ มาทำความสะอาดฝุ่นละอองที่เกาะบนแผงวงจรภายในเครื่องซึ่งจะช่วยให้กระระบายความร้อนขึ้น                                            - ควรต่อสายดินจากเคสส่วนที่เป็นโลหะแล้วนำไปต่อกับโลหะชิ้นอื่นที่ตั้งอยู่บนพื้น เช่น ท่อน้ำเหล็กประตูโครงฝ้า ที่เป้นอลูมิเนียมเพื่อให้สามารถระบายกระแสไฟฟ้าลงดินได้การต่อสายดินนี้จะช่วยแก้ปัญหาจากตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้ไม่
ถูกไฟดูดเวลาเผลอไปแตะตัวเครื่อง  รวมทั้งยังช่วยลดความรุนแรงปัญหาไฟกระชากได้อีกด้วย
- ในพื้นที่ที่มีปัญหาไฟดับ ไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชากอยู่บ่อย ๆ ควรซื้อยูพีเอส (UPS) มาใช้งานซึ่งนอกจากช่วยรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่และกรองสัญญาณไฟฟ้าได้แล้วยังจ่ายไฟฟ้าสำรองได้อีกด้วยสามารถ
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไปได้อีก 10-15 นาทีทำให้บันทึกข้อมูลได้ทัน
-  ในกรณีที่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์หลายชิ้นกับปลั๊ก 3 ตาเพียงอันเดียวเพื่อต่อทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์สแกนเนอร์โมเด็มและฮาร์ดแวร์ชิ้นอื่น ๆ ควรใช้ปลั๊กรางสำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขายอยู่โดยทั่วไปแทน ซึ่งปลั๊กรางนี้จะช่องเสียบหลายช่อง
และมีเต้าสำหรับใช้กับปลั๊กแบบ 3 ขาได้ และไม่ควรใช้ตลับสายไฟที่เป็นม้วนกลม เนื่องจากมักจะทำจากอุปกรณ์ราคาถูกเมื่อเสียบปลั๊กแล้วไม่แน่น ทำให้ปลั๊กหลวมจนเครื่องดับในระหว่างการใช้งานและอาจเกิดการสปาร์กที่ปลั๊ก ทำให้เกิดสัญญาณรบกวนระบบไฟฟ้าและถ้าสปาร์กบ่อย ๆ จะทำให้เกิดความร้อนสะสมจนอาจเกิดไฟไหม้ได้
- อย่าปิดแล้วเปิดเครื่องใหม่ทันที นอกจากจะทำให้จอภาพเสียเร็วแล้ว จะทำให้ภาคจ่ายไฟแบบสวิทซึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์มี
อายุการใช้งานสั้นลงด้วย แต่หากต้องการปิดแล้วเปิดเครื่องใหม่ให้ปิดเครื่องแล้วรออย่างน้อย 10 วินาทีเพื่อให้กระแสไฟฟ้า ไหลออกจากตัวเครื่องให้หมดก่อนแล้วจึงเปิดเครื่องใหม่จึงจะไม่สร้างความเสียหายให้กับฮาร์ดแวร์แต่ในกรณีที่เครื่องแฮงก์ให้ลอง
บูทเครื่องใหม่โดยการวอร์มลูทคือกดปุ่ม Ctrl + Alt + Del  เสียก่อนแต่ถ้าไม่ได้ผลให้ กดปุ่ม รีเซตที่ด้านหน้าเครื่องแทนซึ่งจะได้ผล เท่ากับการปิดเครื่องและเปิดเครื่องใหม่โดยไม่ทำให้ภาคจ่ายไฟมีอายุการใช้งานสั้นลง
- ควรนำคีย์บอร์ด คว่ำแล้วเคาะฝุ่นละอองที่ติดตามซอกออกเดือนละครั้งหรือใช้น้ำยาเช็ดทำความสะอาดเพื่อให้สามารถกดปุ่นได้อย่างไม่มีปัญหา
- การดูแลรักษาเมาส์ ควรถอดลูกกลิ้งในเมาส์มาล้างในน้ำอุ่นและขูดสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ที่แกนหมุนภายในเมาส์เนื่องจากหากแกนนี้สกปรกจะทำให้เมาส์เคลื่อนที่ได้ไม่สม่ำเสมอควรทำความสะอาดประมาณ 1-2 เดือนต่อครั้งหรือบ่อยกว่านั้นถ้ารูสึกว่าเมาส์เคลื่อนที่ไม่ราบเรียบ นอกจากนี้ควรใช้แผ่นรองเมาส์และทำความสะอาดแผ่นรองเมาส์ให้สะอาดอยู่เสมอ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น